ราชวงศ์ฉิน (221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

บทความหลัก ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน

นักประวัติศาสตร์นิยมเรียกประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ ราชวงศ์ฉิน ถึง ราชวงศ์ชิง ว่าเป็นจีนยุคจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี แต่พระองค์ได้วางรากฐานสำคัญของอารยธรรมชนเผ่าฮั่นไว้เป็นจำนวนมาก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เซียงหยาง (??) (บริเวณเมืองซีอานปัจจุบัน)

พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ต้องการบังคับประชาชนให้ใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้การรวมประเทศสมบูรณ์ จึงเลือกใช้วิธีค่อนข้างบีบคั้นและรุนแรงด้วยการประหารเหล่าปัญญาชนที่ต่อต้านคำสั่งของพระองค์และสานุศิษย์ขงจื๊อ นอกจากนั้นยังออกคำสั่งเผาหนังสือในความครอบครองของขุนนางและชาวบ้านซึ่งมิใช่มาตรฐานของพระองค์ทั้งหมด แล้วเร่งเผยแพร่มาตรฐานของแผ่นดินโดยเร็ว

สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของราชวงศ์ฉินคือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นการต่อแนวกำแพงเก่าให้เป็นปึกแผ่น ผลงานอื่นๆ ได้แก่ระบบกฎหมาย การเขียนหนังสือ ระบบเงินตรา เป็นต้น

 ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 220)

บทความหลัก ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: ?? พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763)

เขตแดนของราชวงศ์ฮั่น
สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น

เมื่อหลิวปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) โดยมีราชวงศ์ซินของอองมังมาคั่นเป็นระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) โดยย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง

 ราชวงศ์ซิน (ค.ศ. 9-23)

ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้นๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต ราชวศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง

 ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 23-220)

ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกอองมังยึดอำนาจ เป็นราชวงศ์ฮั่นดังเดิม แต่ย้ายเมืองหลวงไปลั่วหยาง

ช่วงเสื่อมของฮั่นตะวันออก เกิดกบฎโจรโพกผ้าเหลือง (????) ขึ้นใน ค.ศ. 184 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หลังจากนั้นได้มีอาณาจักรสามแห่งตั้งประชันกัน โดยเรียกว่า ยุคสามก๊ก เป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก

เนื่องจากความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเรียกตัวเองว่าเป็น "ชาวฮั่น" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 ยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220-280)

เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 ก๊ก โดยมีก๊กของ เล่าปี่ , ก๊กของ โจโฉ และก๊กของ ซุนกวน ซึ่งต่างรบแย่งชิงความเป็นใหญ่ในแผ่นดินมังกรทอง เริ่มจากการที่พระเจ้าเหี้ยนเต้ ถูกบุตรชายโจโฉขับออกจากบัลลังก์ แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 แคว้น

ค.ศ. 263 ก๊กเล่าปี่ล่มสลาย

ค.ศ. 265 ก๊กโจโฉถูกขุนศึกภายในชื่อ สุมาเอี๋ยน ยึดอำนาจ และสุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้น และเริ่มครองราชย์ในนามราชวงศ์จิ้น

ค.ศ. 280 ก๊กซุนกวนล่มสลาย สุมาเอี๋ยนครองแผ่นดินจีนได้สมบูรณ์

 ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265-317)

บทความหลัก ราชวงศ์จิ้น

เขตแดนของราชวงศ์จิ้น

สุมาเอี๋ยน (???) สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงค์จิ้นตะวันตกใน ปีคริสต์ศักราช 265 แทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ เมื่อถึงปี 280 จิ้นตะวันตกปราบง่อก๊กลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊กลง ราชวงศ์จิ้นได้เปิดรับเผ่านอกด่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนู หลิวหยวน(??)ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า ฮั่นกว๋อ(??)ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุตรชายชื่อหลิวชง (??)ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ (??) เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา

 ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420)

การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317-420) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่างๆ 16 แคว้น โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื้อสายต่างๆ

 ราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 420-581)

บทความหลัก ราชวงศ์เหนือใต้

หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (265 – 316) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจนค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย (??)และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือใน ค.ศ. 439

เมื่อถึงปี 581 หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้(???)จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย (?)จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ

เพิ่มเติมทางฝ่ายเหนือก่อนที่ราชวงศ์จิ้นจะพบจุดจบ ทางเผ่าอนารยชน เผ่าเชียง เผ่าซวงหนู เผ่าตี เผ่าเซียนเป่ย (ที่แบ่งออกเป็น ตระกูลมู่หยงและตระกูลทัวปา) หลังจากฝูเจียนอ๋องแห่งแคว้นเฉียนฉินพ่ายแพ้ที่แม่น้ำเฝ่ยสุ่ย ก็เริ่มอ่อนแอลง โดยได้มีการกล้าแข็งขึ้นของกลุ่มที่เหลือ และฝูเจียนได้ตายโดยน้ำมือของเหยาฉัง และทางแดนเหนือ (ที่ว่านี้เป็นแดนที่อยู่เหนือ แม่น้ำแยงซีเกียง) ก็เป็นการช่วงชิงกันระหว่ง มู่หยงย่ง เหยาฉัง มูหยงฉุย (ตระกูลทัวปาเริ่มก้าวขึ้นมาอย่าง้งียบ) โดยมูหยงฉุยกวาดล้าง มู่หยงหย่งก่อน แล้ว โดนทัวปากุยทำให้พ่ายแพ้ โดยตามประวัติศาสตร์แล้ว ทัวปากุยเป็นโจรปล้นชิงม้ามาก่อน ก่อนก้าวขึ้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแดนเหนือ

อีกฝ่ายทางใต้นอกจากทัวปากุยทางแดนใต้ ต้องเริ่มจากการชนะศึกที่แม่น้ำเฝยสุ่ยของทัพจิ้น และผู้ปรีชาของจิ้นอันได้แก่ เซี่ยอานมหาเสนาบดี และจอมทัพเซี่ยเสียน ล้มตายลง ทางทัพของซุนเอินได้ก่อหวอด บวกกับทัพแดนจิงโจวของหวนเศียน ได้ทำการก่อกบฏ โดยมีวีรบุรุษในตอนนั้น หลิวอวี้ที่พากเพียรจากทหารตำแหน่งเล็ก ๆในกองทัพเป่ยพู และได้ไต่เต้าขึ้นจนเป็นผู้นำในกองกำลังเป่ยพู และภายหลังได้บีบให้ตระกูลซือหม่า สละบัลลังค์ และได้ก่อตั้งราชวงศ์ใต้ที่มีชื่อว่าราชวงศ์ซ่ง และได้ยกทัพตีชิงแดนเหนือแต่เกิดเหตุ หลิวมู่จือคนสนิทเสียชีวิตระหว่างที่กำลังบุกตีขึ้นเหนือ

หมายเหตุเนื่องจากการพ่ายแพ้ของฝูเจียน ทำให้การรวมแผ่นดินล่าช้าไปเกือบสองร้อยปี

 ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618)

บทความหลัก ราชวงศ์สุย

เขตแดนราชวงศ์สุย

สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความาสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน (พ.ศ. 1124 - 1160)

ภายหลังการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย สภาพสังคมโดยรวมได้รับการฟื้นฟูจากภาวะสงคราม มีการเติบโตด้านการผลิต เกิดความสงบสุขระยะหนึ่ง สุยเหวินตี้ ได้ดำเนินการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบรวมเขตปกครองในท้องถิ่น ลดขนาดองค์กรบริหาร รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ฮ่องเต้กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งในทางทหาร การปกครองและเศรษฐกิจ โดยมีขุนนางเป็นเพียงผู้ช่วยในการบริหาร

 ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907)

บทความหลัก ราชวงศ์ถัง

ภาพเขตแดนราชวงศ์ถัง

หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์จิ้นตะวันออก)ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน เเสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงเเล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องเเละเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของพระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน อานลู่ซานเเม่ทัพชายเเดนจึงก่อกบฎเเละยึดเมืองหลวงฉางอานเป็นป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งเเต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ พ.ศ. 1161-1450

 ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร (ค.ศ. 907-960)

บทความหลัก ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร

ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฎประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแน่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลาเกือบ 20 ปี

 ราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279)

บทความหลัก ราชวงศ์ซ่ง

เขตแดนราชวงศ์ซ่ง
สมเด็จพระจักรพรรดิซ่งไท่จู่ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่ง

ปีค.ศ. 960 เจ้าควงอิ้นหรือพระเจ้าซ่งไท่จู่ สถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเหนือ เมืองหลวงอยู่ที่ไคฟง (มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวสำเร็จ แล้วใช้นโยบายแบบ “ลำต้นแข็ง กิ่งก้านอ่อน” ในการบริหารประเทศ ปฏิรูปการปกครอง การทหาร การคลัง อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ส่วนท้องถิ่นกลับอ่อนแอ เมื่อต้องทำสงคราม ย่อมไม่มีกำลังต่อต้านศัตรูได้ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง


 ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368)

บทความหลัก ราชวงศ์หยวน

เขตแดนราชวงศ์หยวน

ยุคนี้ประเทศจีนถูกปกครองโดยชาวมองโกล นำโดย หยวนชื่อจู่ (หรือกุบไลข่าน) ซึ่งโค่นราชวงศ์ซ่ง ตั้งราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกลขึ้น ยุดสมัยนี้ได้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นครั้งเเรกมีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น เเต่ไม่ประสบความสำเร็จ

สมัยนี้อาณาเขตมีขนาดใหญ่มาก ว่ากันว่าใหญ่กว่าอณาจักรโรมถึง4เท่า หลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลได้กดขี่ชาวจีนอย่างรุนเเรง จนเกิดกบฎ เเละสะสมกองกำลังทหารหรือกลุ่มต่อต้านขึ้น ช่วงปลายราชวงศ์หยวนจูหยวนจางได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆ เเละขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากเเผ่นดินจีนได้สำเร็จ

ราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644)

บทความหลัก ราชวงศ์หมิง

เขตแดนราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ของจีนสถาปนาโดยจูหยวนจาง(จักรพรรดิหงหวู่)ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงมีการส่งกองเรือออกเดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปจนถึงแอฟริกา

ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912)

บทความหลัก ราชวงศ์ชิง

เขตแดนราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911)เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของเผ่าแมนจู เป็นชนต่างชาติที่เข้ามาปกครองจีน เป็นสมัยที่มีการตรวจตราข้อบังคับของสังคม เช่น ให้ชายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจู ในราชสำนักมีขุนนางตำแหน่งสำคัญกำเนิดขึ้นด้วย คือ "ขันที

  

                    กลับไปหน้าแรก

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...